เช็คสภาพรถก่อนเดินทางง่าย ๆ ด้วย หลักการดูแลรถ “BE WAGON”

“BE WAGON” ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภทเพื่อให้ทุกการเดินทาง…พร้อม! ทั้งคนและรถ โดยมี 7 ข้อควรทำ คือ B Break ตรวจสอบระบบเบรคว่ายังใช้งานได้ดีด้วยการทดลองเหยียบเบรคเมื่อเริ่มขับในระยะ 3 – 5 เมตรแรก ตรวจสอบผ้าเบรก และเปลี่ยนเมื่อมีความหนาน้อยกว่า 4 มิลลิเมตร หรือเปลี่ยนทุกๆ 25,000 กิโลเมตร E Electricity ตรวจระบบไฟของรถยนต์ทั้งหมด ได้แก่ ระบบไฟส่องสว่าง ไฟสูง ไฟต่ำ ไฟท้าย ไฟเลี้ยว…

การบำรุงรักษาระบบ ไฮดรอลิค

การบำรุงรักษาระบบ ไฮดรอลิค เนื่องจากสิ่งสกปรกที่เป็นอนุภาคของแข็ง ไม่ว่าจะเป็นเศษโลหะ ชิ้นส่วน เศษผง ตลอดจนความชื้นและอากาศ ที่เล็ดลอดเข้าไปปะปนใน น้ำมันไฮดรอลิค สามารถก่อให้เกิดการสึกหรอและการสีกกร่อนของ ปั๊มไฮดรอลิค ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักพบอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอในเรื่อง ความสะอาดของ น้ำมันไฮดรอลิค ฟลัชล้างทำความสะอาดระบบด้วย น้ำมันไฮดรอลิค ระบบไฮดรอลิคใหม่หรือหลังจากมีการถอดซ่อมบำรุงรักษา อาจมีสี โลหะ สนิม ตลอดจนฝุ่นและทราย ที่ติดค้างอยู่ในระบบ ควรระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับ ความสะอาดของ น้ำมัน โดยดูแลภาชนะ ปั๊มดูด ถังเก็บ ให้สะอาดอยู่เสมอ…

แบตเตอรี่เครื่องจักร

แบตเตอรี่เครื่องจักร แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง…

หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง

หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง หน้าที่ในการหล่อลื่น หน้าที่นี้คือหน้าที่หลักเลยนะครับ โดนน้ำมันหล่อลื่นจะเคลือบชิ้นส่วนโลหะในเครื่องยนต์ในลักษณะเป็นฟิล์มเคลือบอยู่ที่ผิวโลหะเพื่อช่วยลดการสัมผัสกันโดยตรงของชิ้นส่วนโลหะ โดยความหนาของฟิล์มนั้นขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง หน้าที่ในการระบายความร้อน ในช่วงที่เครื่องยนต์กำลังทำงานนั้นจะเกิดความร้อนขึ้นบริเวณ รอบๆฝาสูบ รอบๆกระบอกสูบ ลูกสูบ ข้อเหวี่ยงและ ชิ้นส่วนภายในต่างๆ ปั๊มน้ำมันเครื่องจะส่งน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ เมื่อน้ำมันเครื่องไหลกลับก็จะพาเอาความร้อนกลับลงไปสู่อ่างน้ำมันเครื่องด้วย จึงเป็นการระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์อีกทางหนึ่ง หน้าที่ในการป้องกันสนิมและการกัดกร่อน การเผาไหม้ในเครื่องยนต์จะทำให้เกิดความชื้นและไอน้ำ เป็นสาเหตุให้เกิดสนิมกับชิ้นส่วนต่างๆ ขณะเดียวกันการเผาไหม้เชื้อเพลิงก็ทำให้เกิดกรดกำมะถัน ซึ่งสามารถกัดกร่อนชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ให้สึกหรอได้ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ทำให้ไอน้ำและกรดกำมะถันเจือจางลงซึ่งช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ หน้าที่ในการป้องกันการรั่วของกำลังอัด น้ำมันเครื่องที่มีลักษณะเป็นฟิล์มจะช่วยเคลือบผนังกระบอกสูบ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการรั่วของกำลังอัดภายในกระบอกสูบ ที่จะไหลผ่านระหว่างแหวนลูกสูบและกระบอกสูบลงสู่ห้องแคร้งของเครื่องยนต์ หน้าที่ในการทำความสะอาด การเผาไหม้ในเครื่องยนต์จะทำให้เกิดเขม่าและผงโลหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ เพราะฉะนั้นน้ำมันเครื่องมีหน้าที่ชะล้างเขม่าและป้องกันการรวมตัวกันของผงโลหะที่อาจทำให้เกิดการอุดตันได้ วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง…

ความรู้เกี่ยวกับจาระบี

จาระบี คือน้ำมัน (70-95%) ผสมกับสารอุ้มน้ำมัน (5-30%) สารอุ้มน้ำมันจะคล้ายฟองน้ำที่อุ้มน้ำมันไว้ ซึ่งส่วนมากผลิตจากไขสบู่โลหะ (สบู่ที่ผสมลงไปจะทำให้จาระบีมีความข้นเหนียว มีคุณสมบัติกึ่งแข็งกึ่งเหลว ช่วยอุ้มและจับเกาะน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพทางเคมีทำให้ไม่ไหลเยิ้มออกมาในขณะใช้งาน ความแตกต่างของจาระบีแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสบู่ที่ผสม) สารอุ้มน้ำมันที่มักใช้โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ 1.ลิเธียม (ให้การใช้งานที่ช่วงอุณหภูมิกว้าง) 2.แคล-เซียม (ทนน้ำได้ดี แต่มีอุณหภูมิทำงานสูงสุดที่ 60 °C) 3.โซเดียม (มีคุณสมบัติการซีลที่ดี แต่ห้ามโดนน้ำ) สารเพิ่มคุณภาพพิเศษ เช่น สารป้องกันสนิม สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น สารรับแรงกดสูง…